วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปฐมนิเทศวิชาและข้อตกลงในการเรียนรู้

สัปดาห์ แรกของการเรียนการสอน เป็นการแนะนำรายวิชา การชี้แจงข้อตกลงในการเรียนการสอน และการเตรียมตัวเพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดภาคเรียน โดยมีข้อตกลงร่วมกันคื่อ

เงื่อนไขและข้อตกลงก่อนการเรียน
1.ใช้ gmail โดยลงทะเบียนด้วยชื่อจริง เพื่อเป็นระบบสื่อสารเดียวกัน เพื่อการประเมินผลกิจกรรมร่วมฝึกอื่นๆให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดส่วน ตัว(Account Setting) โดยตั้งค่าใช้โหมดภาษาอังกฤษ
2.ติดต่อผู้สอนด้วยอีเมล prachid2009@gmail.com
3.ให้เปิดใช้งานผลิตภัณฑ์บริการของกูเกิ้ลคือ
 - ติดตาม(Follow) เว็บบล็อกของวิชานี้ ติดตามอีเมล prachid2009@gmail.com และ add friend ใน Google plus
 - Google Profile ใส่ข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อยเป็นจริง
 - GoogleDocs ฝึกใช้งาน Documents และการ Share
 - สร้าง Blog ของ Blogger โดยใช้ชื่อจริงนำหน้าแล้วตามด้วย-รหัสวิชา เช่น prachid-arti3410 เพื่อสรุปผลการเรียนรู้ในวิชานี้เป็นส่วนบุคคล
 - ติดตามบล็อกบันทึกการสอนของอาจารย์ที่ http://productdesigntheory.blogspot.com
4.ให้สมัครเป็นสมาชิกและสมัครเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งที่ http://chandraonline.chandra.ac.th/dokeos  สมัครเป็นสมาชิกก่อน(ครั้งแรก)ใช้ภาษาอังกฤษ ใส่ข้อมูลและรูปถ่ายให้เรียบร้อย
- สมัครเรียนเฉพาะในวิชาที่เปิดสอน-สมัครเรียน
- เมื่อเข้าวิชาแล้วให้เลือกสมัครเข้ากลุ่มเรียนของตนเอง(ตามกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียน)
5.สมัครสมาชิกกลุ่มแสดงงานออกแบบภาพเคลื่อนไหวที่ http://issuu.com/groups/productdesign
6.นำ บัตรเข้าชั้นเรียน ติดรูปถ่าย-สมุดจดที่แจกให้ วางโต๊ะผู้สอนก่อนเข้าชั้น มาสาย 2 ครั้ง (เกิน 30 นาที ถือว่ามาสาย) นับเป็นขาด 1 ครั้ง
7. เวลาเรียนตลอดภาคเรียนต้องไม่น้อยกว่า 80% จึงจะมีสิทธิ์รับการประเมินผลปลายภาคเรียน สิทธิ์ขาดเรียนเพียง แค่ 3 ครั้ง (ไม่แจ้ง/ไม่มีใบลา/ไม่ติดต่อผู้สอน)
8.กิจกรรมการศึกษาค้นคว้าแปล สรุปข่าวสารความรู้ด้านการออกแบบภาพเคลื่อนไหว: Weekly Report เรียงตามลำดับรายชื่อที่ลงทะเบียนเรียน ช่วง 30 นาที แรกของคาบเรียน ผู้ที่รายงานต้องส่งแชร์เอกสารที่ถูกแบบฟอร์มและนำเสนอด้วย GoogleDocument - Presentation  + แชร์ให้เพื่อนๆ และให้อาจารย์ตรวจสอบก่อนรายงานทุกครั้งอย่างน้อย 1 วัน  โดยแจ้งไว้ในแบบฟอร์มการประเมินผลที่อาจารย์แชร์ให้ดำเนินการเอง
9.สมัครเป็นสมาชิก-รับข้อมูลข่าวสารและศึกษาเนื้อหาวิดิโอการสอนของอาจารย์ได้ที่ URL Prachid's Youtube.com http://www.youtube.com/prachid2009 และปรับแก้ไขข้อมูลช่องของตนเองให้เรียบร้อย
ภาระงานที่มอบหมายนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน สองสัปดาห์

นักออกแบบคือใคร (Who is The Designer?)

นักออกแบบคือใคร (Who is The Designer?)

นักออกแบบ(Designer) คือ บุคคลผู้ซึ่งมีความสามารถพิเศษในทางความคิดสร้างสรรค์และสามารถในการคิดแก้ปัญหาให้สอดคล้องกลมกลืนเข้ากับความเจริญทางเทคโนโลยีได้ด้วย บ่อยครั้งที่มีการสำคัญผิดคิดว่า นักออกแบบจะต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถพิเศษในทางศิลปะอยู่ด้วย และก็เป็นการสำคัญผิดอีกเช่นกันถ้าคิดว่านักออกแบบควรจะทำงานแต่ในด้านศิลปะความงามกับการออกแบบเท่านั้น ผู้ที่สามารถออกแบบโดยคำนึงถึงศิลปความงามอย่างเดียวนั้นไม่ใช่นักออกแบบแต่ควรจัดให้เป็นนักเขียนแบบ หรือนักวาดแบบมากกว่า (Stylist)
นักออกแบบไม่จำเป็นต้องมีความเก่งกาจในการวาดเขียน แต่นักออกแบบที่ดีพร้อมควรจะมีความสามารถในการเขียนและวาดรูปอีกทั้งควรมีความรู้ความเข้าใจในด้านศิลปะ (Arts) อันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ด้วย นักออกแบบอาจเป็นวิศวกร นักประดิษฐ์ หรือบุคคลในอาชีพใด ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือมีพรสวรรค์พิเศษสามารถคิดแก้ปัญหาเพื่อสรรสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ให้คุณค่าและคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ขึ้นมาใหม่ได้ ถึงแม้เขาผู้นั้นจะไม่มีพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรมหรือศิลปกรรมเลยก็ตาม แต่ถ้าสิ่งที่เขาค้นคิดขึ้นมาในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่สามารถอำนวยประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์ให้ดีขึ้น สะดวกสบายขึ้นไปกว่าเดิมได้แล้ว ก็ถือได้ว่าเขาผู้นั้นคือนักออกแบบ ตัวอย่างนักออกแบบคนสำคัญของโลก เช่น โทมัส เอ เอดิสัน (Thomas A. Edison) ผู้ซึ่งมีภูมิหลังเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อย ไม่มีความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ หรือศิลปกรรมศาสตร์ แต่มีความสามารถในความนึกคิดสร้างสรรค์ที่สูงมาก มีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาและสรรสร้างและพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาได้จากสิ่งที่ใคร ๆ คิดว่าเป็นไปไม่ได้ ผลงานของเอดิสันยังคงปรากฏจรรโลงโลกและให้ความสะดวกสบายเป็นเครื่องมือรับใช้ของมนุษย์ชาติมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

นักออกแบบจะต้องมีความสามารถในการตีปัญหาให้ได้มาซึ่งความต้องการขั้นพื้นฐานและต้องรู้จักการพัฒนาความคิดให้ก้าวไกลออกไป รู้จักการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการยอมรับในข้อผูกพันทางด้านการตลาด ด้านสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความนิยม นักออกแบบศิลปะอุตสาหกรรมจะต้องเข้าใจเกี่ยวโยงลึกซึ้งในงานออกแบบของตนเอง อาทิเช่น กรรมวิธีในการผลิต (โดยระบบโรงงานอุตสาหกรรม) เข้าถึงเรื่องมนุษย์วิทยา (Human factor) ความง่าย (Simplicity) ความสามารถในการทำงาน (Workabitity) และศิลปะความงดงามที่จะสอดแทรกเข้าไปในงานออกแบบของตนด้วย นักออกแบบศิลปะอุตสาหกรรมจะต้องมีความสามารถนำเอาศิลปวิทยาการ เทคโนโลยี ความนิยม ธรรมชาติที่เป็นจริงของมนุษย์และความเป็นไปได้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เหล่านี้มาผนวกเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์(Product Design)ให้ได้ความสมบูรณ์ที่สุด