วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Design and Development Process)

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Design and Development Process)
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร
อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.
หัวหน้าทีมงานที่ปรึกษาด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท เอซีที.อินเทลลิเจนท์ จำกัด
การประกอบธุรกิจด้าน การผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าเท่าที่ผ่านมาในอดีตนั้น ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารกิจการทั่วไปมักเชื่อมั่นว่า การพัฒนาธุรกิจของตนเองนั้น ไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรฝ่ายออกแบบสร้างสรรค์ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และหรือผู้ชำนาญการพิเศษเฉพาะทางไว้เป็นจำนวนมากนักก็ได้ หรือไม่ก็มักให้บุคลากรที่มีอยู่เดิม เพิ่มการฝึกฝน สนใจ ใส่ใจในรายละเอียด ใช้ประสบการณ์ โดยพัฒนาจากการทำงานในหน้าที่กันเองโดยตรง(Professional Being or Detail-Oriented Doners)

แต่ปัจจุบันนี้ เป็นยุคของการแข่งขันกันทั้งโลก(World Wide Competition)ที่ผู้ประกอบการควรต้องคิดและปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ในการผลิตและการจำหน่ายสินค้ากันใหม่ โดยต้องให้ความสำคัญกับฝ่ายสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า(Creative and Development Section)กันให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการแข่งขันทางการค้าให้กับหน่วย งานของตนเอง หรือเตรียมการไว้ให้เป็นกลยุทธ์ใหม่นอกเหนือไปจากมองการตลาดอย่างเดียว แต่ต้องเหลียวมองหลังตั้งกองทัพให้มั่นคงพร้อมสู้ พร้อมพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
การเตรียมการดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงต้องมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือเติมเต็ม เพื่อความรู้ ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการงานอันจะเกี่ยวข้องได้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อย่างน้อยก็ควรรู้ ทราบและเข้าใจพื้นฐานของการดำเนินงานตามหลักสากล เพื่อปรับประยุกต์ ร่วมใช้ได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรและบุคลากรของตน เพื่อสามารถสื่อสารถึงความมีมาตรฐานด้านการผลิต การรับรองและการที่จะได้รับภาพลักษณ์ ชื่อเสียงที่ดีจากทั้งในสังคมประเทศและระดับสากลนั่นเองขั้น ตอนการดำเนินการ(Design and Development Work Flow)ที่ควรทำความเข้าใจ และเพื่อให้ผลการดำเนินงานด้านการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.การกำหนดคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ (Product Design Specification) โดยอาศัยข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลต่างๆเช่น
1.1 สรุปภาพรวมความต้องการของลูกค้า(Identify customer needs)
1.2 ข้อมูลสรุปจากตัวชี้วัดและดัชนีการผลิต (Conduct Bench Marking)
1.3 การประเมินผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันทางการ ค้า(Evaluate Competitor’s Product)
1.4 การตั้งวัตถุประสงค์และเกณฑ์การออกแบบ ผลิตภัณฑ์(Establish and Approve Product Design Specifications):PDS
2.ขั้นการกำหนดมโนทัศน์ผลิตภัณฑ์(Product Concept Generation Stage) เช่น
2.1 การพัฒนามโนทัศน์ทางเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์(Develop Alternatives Concept)
2.2 การเลือกมโนทัศน์ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมมากที่สุด (Select Most Suitable Concept)
3.ขั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design Stage)เป็นขั้นตอนการทำงานออกแบบในระดับต่างๆของนักออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น
3.1 การสร้างภาพร่างเพื่อสื่อสรุปแนวคิดและความต้องการ ตามข้อกำหนดกฏเกณฑ์ที่ตั้งไว้(Design Briefs Rendering)ให้ปรากฏ ซึ่งอาจจะสร้างเป็นภาพอย่างง่ายๆ หยาบๆ มีขนาดเล็ก หลากหลายระดับคุณภาพ ด้วยมือของนักออกแบบหรือทีมงานฝ่ายออกแบบ(Hand Drawn) เพื่อใช้ประกอบการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น(Preliminary Study) แสดงรายละเอียดปลีกย่อย มีคำอธิบายระบุหรือกำกับแนวความคิดเริ่มต้นหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าแบบร่าง ทางความคิดนั่นเอง
3.2 การสร้างภาพแบบร่างสื่อสาร ความเข้าใจ(Comprehensive Sketch Design) ส่วนใหญ่เป็นการแสดงภาพร่าง
3.3 การออกแบบรายละเอียด (Detail Design)
3.4 การเขียนแบบใช้งาน(Working Drawing)
3.5 การกำหนดส่วนประกอบและวัสดุPart List and Materials Selection
4. ขั้นการผลิต(Production Stage)
4.1 การสร้างแบบจำลอง(Mockup Model Study)
4.2 การสร้างต้นแบบและการทดสอบ(Prototype Production and Testing)
4.3 การผลิตจริงตามสายงานการผลิต(Ongoing Product Production)
5.การสรุปและประเมินผล(Conclusion and Evaluation)
ผลงานการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ส่วนเสริม(Accessory Parts Prototype) ร่วมใช้งานกับผลิตภัณฑ์หลัก ชื่อชุด "Back & Decor"ผลิตภัณฑ์สำหรับติดตั้งเสริมเพื่อ หนุน รองรับ ปรับ แต่ง ร่วมกับสรีระร่างกายส่วนหลัง และใช้ร่วมตกแต่งกับเก้าอื้-โซฟาของทีมเฟอร์น ผลิตผลที่เกิดจากโครงการบริการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการ การตลาด และการบริการ(CF) แก่ SMEs ในอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ด้านการผลิต การจัดการและการเชื่อมโยงธุรกิจ

1 ความคิดเห็น:

  1. Do not be afraid to make early proof-of-concepts die larger than they will need to be in full-scale production. The form factor for the first prototype does not have to be the same as the final product and this can make everyone’s life easier: the process engineer, the test engineer, the packaging engineer, etc. Extra spacing for handing wafers, reducing etch load, providing larger contact probe pads, being able to use standard pick and place tooling, etc. will allow you to focus on getting the device operational as quickly as possible without making anything harder than it needs to be in the early stages. If you need to generate more device die, plan to process more wafers rather than cramming more die onto a wafer layout. Running more wafers has an added benefit of providing more data for future processing runs and helps with risk mitigation on multiple levels. define thought leadership

    ตอบลบ