วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ต้นแบบโฉมใหม่อัตลักษณ์และรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรโพธิ์แก้ว สิงห์บุรี โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม เป็นแรงบันดาลใจ

ต้นแบบโฉมใหม่อัตลักษณ์และรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรโพธิ์แก้ว สิงห์บุรี โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม เป็นแรงบันดาลใจ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปผลการเข้าเรียนและกิจกรรมในวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ครึ่งเทอม 2-2554

ดูสถิติก็แล้วกันครับว่านักศึกษากลุ่มเรียนวิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ชั้นปีที่2(ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2554)มีความเอาใจใส่ในการเรียนขนาดไหน น่าสงสารผู้ปกครองที่อุตส่าห์เจียดเงินค่าเทอมมาจ่ายให้มหาวิทยาลัยนะขอรับ อย่างนี้แล้วเวลาเรียนต้องมี 5 ปีแน่นอน ลงทะเบียเรียน 26 คน วันแรก 12/12/2554 เข้าเรียน 8 คน สัปดาห์ถัดมาเหลือ 4 คน และหลังทราบผลสอบกลางภาคเรียนก็ไม่มีใครเข้าเรียนอีกเลย จึงแจ้งมาเพื่อทราบและเตือนถึงนักศึกษาที่เหลืออีก 2 คนที่ยังพอมีเวลาและมีสิทธิ์สอบปลายภาคเรียนว่า หากสัปดาห์หน้านี้ไม่เข้าชั้นเรียนและไม่ยอมรับทราบข่าวสารใดๆ ก็ขอแนะนำให้ไปยกเลิกวิชานี้ก่อนสอบปลายภาคเรียน 15 วัน

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปฐมนิเทศวิชาและข้อตกลงในการเรียนรู้

สัปดาห์ แรกของการเรียนการสอน เป็นการแนะนำรายวิชา การชี้แจงข้อตกลงในการเรียนการสอน และการเตรียมตัวเพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดภาคเรียน โดยมีข้อตกลงร่วมกันคื่อ

เงื่อนไขและข้อตกลงก่อนการเรียน
1.ใช้ gmail โดยลงทะเบียนด้วยชื่อจริง เพื่อเป็นระบบสื่อสารเดียวกัน เพื่อการประเมินผลกิจกรรมร่วมฝึกอื่นๆให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดส่วน ตัว(Account Setting) โดยตั้งค่าใช้โหมดภาษาอังกฤษ
2.ติดต่อผู้สอนด้วยอีเมล prachid2009@gmail.com
3.ให้เปิดใช้งานผลิตภัณฑ์บริการของกูเกิ้ลคือ
 - ติดตาม(Follow) เว็บบล็อกของวิชานี้ ติดตามอีเมล prachid2009@gmail.com และ add friend ใน Google plus
 - Google Profile ใส่ข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อยเป็นจริง
 - GoogleDocs ฝึกใช้งาน Documents และการ Share
 - สร้าง Blog ของ Blogger โดยใช้ชื่อจริงนำหน้าแล้วตามด้วย-รหัสวิชา เช่น prachid-arti3410 เพื่อสรุปผลการเรียนรู้ในวิชานี้เป็นส่วนบุคคล
 - ติดตามบล็อกบันทึกการสอนของอาจารย์ที่ http://productdesigntheory.blogspot.com
4.ให้สมัครเป็นสมาชิกและสมัครเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งที่ http://chandraonline.chandra.ac.th/dokeos  สมัครเป็นสมาชิกก่อน(ครั้งแรก)ใช้ภาษาอังกฤษ ใส่ข้อมูลและรูปถ่ายให้เรียบร้อย
- สมัครเรียนเฉพาะในวิชาที่เปิดสอน-สมัครเรียน
- เมื่อเข้าวิชาแล้วให้เลือกสมัครเข้ากลุ่มเรียนของตนเอง(ตามกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียน)
5.สมัครสมาชิกกลุ่มแสดงงานออกแบบภาพเคลื่อนไหวที่ http://issuu.com/groups/productdesign
6.นำ บัตรเข้าชั้นเรียน ติดรูปถ่าย-สมุดจดที่แจกให้ วางโต๊ะผู้สอนก่อนเข้าชั้น มาสาย 2 ครั้ง (เกิน 30 นาที ถือว่ามาสาย) นับเป็นขาด 1 ครั้ง
7. เวลาเรียนตลอดภาคเรียนต้องไม่น้อยกว่า 80% จึงจะมีสิทธิ์รับการประเมินผลปลายภาคเรียน สิทธิ์ขาดเรียนเพียง แค่ 3 ครั้ง (ไม่แจ้ง/ไม่มีใบลา/ไม่ติดต่อผู้สอน)
8.กิจกรรมการศึกษาค้นคว้าแปล สรุปข่าวสารความรู้ด้านการออกแบบภาพเคลื่อนไหว: Weekly Report เรียงตามลำดับรายชื่อที่ลงทะเบียนเรียน ช่วง 30 นาที แรกของคาบเรียน ผู้ที่รายงานต้องส่งแชร์เอกสารที่ถูกแบบฟอร์มและนำเสนอด้วย GoogleDocument - Presentation  + แชร์ให้เพื่อนๆ และให้อาจารย์ตรวจสอบก่อนรายงานทุกครั้งอย่างน้อย 1 วัน  โดยแจ้งไว้ในแบบฟอร์มการประเมินผลที่อาจารย์แชร์ให้ดำเนินการเอง
9.สมัครเป็นสมาชิก-รับข้อมูลข่าวสารและศึกษาเนื้อหาวิดิโอการสอนของอาจารย์ได้ที่ URL Prachid's Youtube.com http://www.youtube.com/prachid2009 และปรับแก้ไขข้อมูลช่องของตนเองให้เรียบร้อย
ภาระงานที่มอบหมายนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน สองสัปดาห์

นักออกแบบคือใคร (Who is The Designer?)

นักออกแบบคือใคร (Who is The Designer?)

นักออกแบบ(Designer) คือ บุคคลผู้ซึ่งมีความสามารถพิเศษในทางความคิดสร้างสรรค์และสามารถในการคิดแก้ปัญหาให้สอดคล้องกลมกลืนเข้ากับความเจริญทางเทคโนโลยีได้ด้วย บ่อยครั้งที่มีการสำคัญผิดคิดว่า นักออกแบบจะต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถพิเศษในทางศิลปะอยู่ด้วย และก็เป็นการสำคัญผิดอีกเช่นกันถ้าคิดว่านักออกแบบควรจะทำงานแต่ในด้านศิลปะความงามกับการออกแบบเท่านั้น ผู้ที่สามารถออกแบบโดยคำนึงถึงศิลปความงามอย่างเดียวนั้นไม่ใช่นักออกแบบแต่ควรจัดให้เป็นนักเขียนแบบ หรือนักวาดแบบมากกว่า (Stylist)
นักออกแบบไม่จำเป็นต้องมีความเก่งกาจในการวาดเขียน แต่นักออกแบบที่ดีพร้อมควรจะมีความสามารถในการเขียนและวาดรูปอีกทั้งควรมีความรู้ความเข้าใจในด้านศิลปะ (Arts) อันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ด้วย นักออกแบบอาจเป็นวิศวกร นักประดิษฐ์ หรือบุคคลในอาชีพใด ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือมีพรสวรรค์พิเศษสามารถคิดแก้ปัญหาเพื่อสรรสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ให้คุณค่าและคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ขึ้นมาใหม่ได้ ถึงแม้เขาผู้นั้นจะไม่มีพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรมหรือศิลปกรรมเลยก็ตาม แต่ถ้าสิ่งที่เขาค้นคิดขึ้นมาในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่สามารถอำนวยประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์ให้ดีขึ้น สะดวกสบายขึ้นไปกว่าเดิมได้แล้ว ก็ถือได้ว่าเขาผู้นั้นคือนักออกแบบ ตัวอย่างนักออกแบบคนสำคัญของโลก เช่น โทมัส เอ เอดิสัน (Thomas A. Edison) ผู้ซึ่งมีภูมิหลังเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อย ไม่มีความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ หรือศิลปกรรมศาสตร์ แต่มีความสามารถในความนึกคิดสร้างสรรค์ที่สูงมาก มีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาและสรรสร้างและพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาได้จากสิ่งที่ใคร ๆ คิดว่าเป็นไปไม่ได้ ผลงานของเอดิสันยังคงปรากฏจรรโลงโลกและให้ความสะดวกสบายเป็นเครื่องมือรับใช้ของมนุษย์ชาติมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

นักออกแบบจะต้องมีความสามารถในการตีปัญหาให้ได้มาซึ่งความต้องการขั้นพื้นฐานและต้องรู้จักการพัฒนาความคิดให้ก้าวไกลออกไป รู้จักการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการยอมรับในข้อผูกพันทางด้านการตลาด ด้านสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความนิยม นักออกแบบศิลปะอุตสาหกรรมจะต้องเข้าใจเกี่ยวโยงลึกซึ้งในงานออกแบบของตนเอง อาทิเช่น กรรมวิธีในการผลิต (โดยระบบโรงงานอุตสาหกรรม) เข้าถึงเรื่องมนุษย์วิทยา (Human factor) ความง่าย (Simplicity) ความสามารถในการทำงาน (Workabitity) และศิลปะความงดงามที่จะสอดแทรกเข้าไปในงานออกแบบของตนด้วย นักออกแบบศิลปะอุตสาหกรรมจะต้องมีความสามารถนำเอาศิลปวิทยาการ เทคโนโลยี ความนิยม ธรรมชาติที่เป็นจริงของมนุษย์และความเป็นไปได้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เหล่านี้มาผนวกเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์(Product Design)ให้ได้ความสมบูรณ์ที่สุด

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Design and Development Process)

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Design and Development Process)
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตร
อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กทม.
หัวหน้าทีมงานที่ปรึกษาด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท เอซีที.อินเทลลิเจนท์ จำกัด
การประกอบธุรกิจด้าน การผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าเท่าที่ผ่านมาในอดีตนั้น ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารกิจการทั่วไปมักเชื่อมั่นว่า การพัฒนาธุรกิจของตนเองนั้น ไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรฝ่ายออกแบบสร้างสรรค์ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และหรือผู้ชำนาญการพิเศษเฉพาะทางไว้เป็นจำนวนมากนักก็ได้ หรือไม่ก็มักให้บุคลากรที่มีอยู่เดิม เพิ่มการฝึกฝน สนใจ ใส่ใจในรายละเอียด ใช้ประสบการณ์ โดยพัฒนาจากการทำงานในหน้าที่กันเองโดยตรง(Professional Being or Detail-Oriented Doners)

แต่ปัจจุบันนี้ เป็นยุคของการแข่งขันกันทั้งโลก(World Wide Competition)ที่ผู้ประกอบการควรต้องคิดและปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ในการผลิตและการจำหน่ายสินค้ากันใหม่ โดยต้องให้ความสำคัญกับฝ่ายสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า(Creative and Development Section)กันให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการแข่งขันทางการค้าให้กับหน่วย งานของตนเอง หรือเตรียมการไว้ให้เป็นกลยุทธ์ใหม่นอกเหนือไปจากมองการตลาดอย่างเดียว แต่ต้องเหลียวมองหลังตั้งกองทัพให้มั่นคงพร้อมสู้ พร้อมพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
การเตรียมการดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงต้องมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือเติมเต็ม เพื่อความรู้ ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการงานอันจะเกี่ยวข้องได้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อย่างน้อยก็ควรรู้ ทราบและเข้าใจพื้นฐานของการดำเนินงานตามหลักสากล เพื่อปรับประยุกต์ ร่วมใช้ได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรและบุคลากรของตน เพื่อสามารถสื่อสารถึงความมีมาตรฐานด้านการผลิต การรับรองและการที่จะได้รับภาพลักษณ์ ชื่อเสียงที่ดีจากทั้งในสังคมประเทศและระดับสากลนั่นเองขั้น ตอนการดำเนินการ(Design and Development Work Flow)ที่ควรทำความเข้าใจ และเพื่อให้ผลการดำเนินงานด้านการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.การกำหนดคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ (Product Design Specification) โดยอาศัยข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลต่างๆเช่น
1.1 สรุปภาพรวมความต้องการของลูกค้า(Identify customer needs)
1.2 ข้อมูลสรุปจากตัวชี้วัดและดัชนีการผลิต (Conduct Bench Marking)
1.3 การประเมินผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันทางการ ค้า(Evaluate Competitor’s Product)
1.4 การตั้งวัตถุประสงค์และเกณฑ์การออกแบบ ผลิตภัณฑ์(Establish and Approve Product Design Specifications):PDS
2.ขั้นการกำหนดมโนทัศน์ผลิตภัณฑ์(Product Concept Generation Stage) เช่น
2.1 การพัฒนามโนทัศน์ทางเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์(Develop Alternatives Concept)
2.2 การเลือกมโนทัศน์ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมมากที่สุด (Select Most Suitable Concept)
3.ขั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design Stage)เป็นขั้นตอนการทำงานออกแบบในระดับต่างๆของนักออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น
3.1 การสร้างภาพร่างเพื่อสื่อสรุปแนวคิดและความต้องการ ตามข้อกำหนดกฏเกณฑ์ที่ตั้งไว้(Design Briefs Rendering)ให้ปรากฏ ซึ่งอาจจะสร้างเป็นภาพอย่างง่ายๆ หยาบๆ มีขนาดเล็ก หลากหลายระดับคุณภาพ ด้วยมือของนักออกแบบหรือทีมงานฝ่ายออกแบบ(Hand Drawn) เพื่อใช้ประกอบการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น(Preliminary Study) แสดงรายละเอียดปลีกย่อย มีคำอธิบายระบุหรือกำกับแนวความคิดเริ่มต้นหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าแบบร่าง ทางความคิดนั่นเอง
3.2 การสร้างภาพแบบร่างสื่อสาร ความเข้าใจ(Comprehensive Sketch Design) ส่วนใหญ่เป็นการแสดงภาพร่าง
3.3 การออกแบบรายละเอียด (Detail Design)
3.4 การเขียนแบบใช้งาน(Working Drawing)
3.5 การกำหนดส่วนประกอบและวัสดุPart List and Materials Selection
4. ขั้นการผลิต(Production Stage)
4.1 การสร้างแบบจำลอง(Mockup Model Study)
4.2 การสร้างต้นแบบและการทดสอบ(Prototype Production and Testing)
4.3 การผลิตจริงตามสายงานการผลิต(Ongoing Product Production)
5.การสรุปและประเมินผล(Conclusion and Evaluation)
ผลงานการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ส่วนเสริม(Accessory Parts Prototype) ร่วมใช้งานกับผลิตภัณฑ์หลัก ชื่อชุด "Back & Decor"ผลิตภัณฑ์สำหรับติดตั้งเสริมเพื่อ หนุน รองรับ ปรับ แต่ง ร่วมกับสรีระร่างกายส่วนหลัง และใช้ร่วมตกแต่งกับเก้าอื้-โซฟาของทีมเฟอร์น ผลิตผลที่เกิดจากโครงการบริการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการ การตลาด และการบริการ(CF) แก่ SMEs ในอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ด้านการผลิต การจัดการและการเชื่อมโยงธุรกิจ